วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความชั่วช้าเพียงเท่าปลายขน




ความชั่วช้าเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อม

ปรากฏเหมือนเท่าก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า แก่ภิกษุ

ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิเวก


วิเวก ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก เป็นความสงัดกาย สงัดใจ และสงบ อุปธิ (กิเลสอย่างหยาบที่ทำให้สร้างกรรมทางกาย วาจา) ทั้งปวง

"เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ"



มูลกรรมฐาน คืออะไร


มูลกรรมฐาน เป็นกรรมฐานบทแรกที่กุลบุตรผู้บรรพชาอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว พระอุปัชฌาย์ทุกองค์ต้องบอกแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ ให้รู้จักพิจารณาความไม่งามของสังขาร อันได้แก่ "เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ" หรือที่เรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า "ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง"

สาเหตุที่พระอุปัชฌาย์ ต้องบอกมูลกรรมฐานนี้ แก่ภิกษุผู้บวชใหม่ ก็เพราะว่า ภิกษุผู้บวชเข้ามาในพระธรรมวินัย จะได้รู้เท่าทันความเป็นจริงของสังขาร ไม่หลงยึดติดไปกับภาพลวงตา อันเกิดขึ้นจากอวิชชา จนมองไม่เห็นความเป็นจริงว่า สังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน และมีความเสื่อมสลายไปในที่สุด หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า "ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง" ที่คนทั่วไปหลงไหล ยึดติดว่าเป็นสิ่งสวยงาม เมื่อดูภายนอกก็แลดูดี แต่ถ้าเราดูแลไม่ดี มันก็จะสกปรก และกลายเป็นรังของเชื้อโรค ยกตัวอย่างเช่น "เส้นผม"

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Stopping is the key to success


ปลดปล่อยตัวเราจากความคิดที่ทำให้ติดได้ คือ ความแตกต่างระหว่างความคิด กับ การคิด ความคิดนั้นเกิดขึ้นมาเอง

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

“สัมมา...อะระหัง” ดีอย่างไร






การเจริญภาวนานั้นมีอานิสงส์และมีอานุภาพมาก เพราะเป็นผลที่จะนำไปสู่การชำระจิตใจของเราให้ใสสะอาดโดยตรง เมื่อใจของเราสะอาดก็จะส่งผลให้ทุกอย่างในชีวิตดีตามไปด้วย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเริ่มต้นที่ใจของเราทั้งสิ้น ดังนั้นการนิยมสวดมนต์ ไหว้พระนั่งสมาธิสม่ำเสมอ จะก่อให้เกิดผลดีต่อจิต และเมื่อจิตผ่องแผ้วก็ถือเป็นโอสถทิพย์ที่ส่งผลให้ร่างกายสร้างและหลั่งฮอร์โมนที่เป็นปกติ ทำให้ร่างกายสมดุล เมื่อร่างกายสมดุล บุคคลนั้นจะอายุยืน ปราศจากทุกขเวทนา ในเรื่องอานิสงส์หรืออานุภาพของการเจริญภาวนานั้น ในฉบับนี้มีตัวอย่างอันน่าอัศจรรย์จากผู้มีประสบการณ์ตรงจากการภาวนา “สัมมา อะระหัง”



วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สะอาดและระเบียบ





1. ความสะอาด หมายถึง ปราศจากสิ่งแปลกปลอม อันจะทำให้เสียคุณภาพ

2. ความเป็นระเบียบ หมายถึง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถูกลำดับ เป็นแถว เป็นแนว ไม่ขัดขวาง ไม่สับสน

การบ้าน 10 ข้อ ของนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา




ก่อนนอนนึกถึงบุญที่สั่งสมมาทั้งหมด

หมาย ถึง ทุกคืนก่อนล้มตัวลงนอน หรือก่อนเข้านอน หรือเมื่ออยู่ในช่วงเวลาก่อนนอนให้นึกถึงความดีที่ทำมาตลอดวัน ตลอดสัปดาห์ ตลอดเดือน ตลอดปี โดยเริ่มต้นที่บุญหรือความดีที่ประทับใจที่สุดเพื่อให้เกิดปีติ จากนั้นความปีตินั้นก็จะทำหน้าที่ดึงดูดบุญหรือความดีอื่น ๆ โดยอัตโนมัติ หรือทำให้นึกได้อย่างต่อเนื่องจนเกิดความรู้สึกภูมิใจ ปีติใจ ชื่นใจในตนเอง


วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558




ปฏิบัติ ปฏิ ( เฉพาะ ) + ปตฺติ ( การถึง )

การถึงเฉพาะ หมายถึง สัมมาปฏิบัติ คือการปฏิบัติชอบ การปฏิบัติถูกต้อง ได้แก่ขณะที่สภาพธรรมฝ่ายดีงามเกิดขึ้นทำกิจของตน เป็นไปในกุศลขั้นต่างๆ โดยเฉพาะการปฏิบัติธรรมขั้นวิปัสสนาภาวนา หมายถึง ขณะที่สติพร้อมสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรม และรู้ความจริงว่าเป็นเพียงนามธรรมรูปธรรมเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย และไม่มีใครเป็นผู้ปฏิบัตินอกจากสติสัมปชัญญะและโสภณธรรมที่ทำหน้าที่ปฏิบัติกิจของตนๆ ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม จะเป็นปัจจัยให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้องและละความยึดถือความเป็นตัวตนได้ในที่สุด

ปฏิเวธ ปฏิ ( ตลอด ) + วิธ ( การแทง )

การแทงตลอด หมายถึง การตรัสรู้ธรรม บรรลุมรรคผล นิพพาน ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาปริยัติและปฏิบัติที่ถูกต้อง

สมาธิ#ภาวนาศีล# สมาธิ# ปัญญา#ปฏิบัติธรรม# นั่งสมาธิ#สมาธิบำบัด#พระนั่งสมาธิ#คำคมสมาธิ  meditation

ปริยัติ ปริ ( รอบ ) + ยตฺติ





ปริยัติ ปริ ( รอบ ) + ยตฺติ ( ศึกษา , เล่าเรียน ) ระเบียบคำอันควรศึกษาโดยรอบ หมาย

ถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระไตรปิฏก( รวมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคำอธิบายต่างๆ

เพื่อให้เข้าใจในหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า )

การศึกษาปริยัติมี ๓ อย่างคือ

๑. อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบจับงูพิษที่หาง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อ ลาภ สักการะ

สรรเสริญ หรือเพื่อยกตนข่มผู้อื่น ย่อมเป็นโทษกับตนเอง เหมือนการจับงูพิษที่หาง งู

ย่อมแว้งขบกัดเอาได้

๒. นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การออกไปจากทุกข์คือ ศึกษาพุทธ

พจน์เพื่ออบรมปัญญา เป็นการศึกษาของผู้ที่เห็นโทษภัยของกิเลส เห็นภัยในวัฏฏ

สงสารปรารถนาจะออกไปจากวัฏฏทุกข์

๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลัง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อทรงพระศาสนาไว้

ไม่ให้เสื่อมสูญ เป็นการศึกษาของพระอรหันต์ซึ่งหมดกิจในการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลส

แล้ว แต่มีฉันทะและเห็นประโยชน์ในการศึกษาเพื่อถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้แก่ชนรุ่น

หลัง