วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คนพาลมีความเพ่งโทษ


จับผิด จับดี
อุชฺฌตฺติพลา พาลา นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา
คนพาลมีความเพ่งโทษเป็นกำลัง
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง
(องฺ. อฏฺฐกฺ ๒๓/๒๒๗)

บางคนแสวงหาความดีใส่ตนด้วยการจ้อง
“จับผิด” ผู้อื่น จ้อง “ติติง” ผู้อื่นอยู่เสมอ
นั่นไม่ใช่วิสัยของคนดี และสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ความดี
สังเกตที่ใจ ยิ่งจับผิด ยิ่งเพ่งโทษ ยิ่งติติง ยิ่งทุกข์ร้อน
ความทุกข์ร้อนเกิดขึ้นในใจผู้นั้นก่อน เสมือนจับกองไฟ
เผาไหม้ตัวเอง เห็นกองไฟเมื่อใดเป็นต้องไขว่คว้าเข้าหาตัวเมื่อนั้น
ใจจึงอุดมไปด้วยไฟ แล้วความสุขใจจะบังเกิดขึ้นได้อย่างไร
ผู้เป็นบัณฑิตจึงไม่ติทุกเรื่อง ไม่ติทุกอย่าง ไม่ติทุกเวลา
ติเท่าที่จำเป็น ติเป็นบางเรื่อง ติเป็นบางอย่าง ติบางเวลา
และที่สำคัญที่สุด จะติเมื่อเกิดประโยชน์เท่านั้น

บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน



บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ดูแล พื้นที่ภายใน วัดใกล้เคียง เพื่อ ความเป็นหนึงเดียวของ พระพุทธศานา



ณ วัดเขาน้ำจั้น ต.บ้านนา อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี4 มีนาคม 2558มาฆบูชา 2558 

สิกขาบท ๑๐ ของสามเณร




พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ๑๐ ของสามเณรคือ
เว้นจากฆ่าสัตว์
เว้นจากลักทรัพย์
เว้นจากประพฤติล่วงพรหมจรรย์
เว้นจากพูดเท็จ
เว้นจากดื่มสุราเมรัย
เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล(เที่ยงไปแล้ว)
เว้นจากฟ้อนรำขับร้องประโคมและการดูมหรสพ
เว้นจากทัดทรงตกแต่งประดับประดาร่างกายด้วยดอกไม้ของ เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิว
เว้นจากที่นั้งที่นอนอันสูงใหญ่ (คือเว้นจากนั้งนอนเหนือเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณและที่นั้งที่นอนอันใหญ่มีภายในใส่นุ่นและสำลี)
เว้นจาการรับทองเงิน

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เหล่ากอของสมณะ, หน่อเนื้อของสมณะ




สามเณรและ สามเณรี แปลว่า เหล่ากอของสมณะ, หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ถ้าเป็นนักบวชหญิงอายุน้อยเรียกว่า สามเณรี

คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป

ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนดอายุอย่างต่ำไว้ประมาณ 7 ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้ พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ ผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไป ไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้

วัดรัตนชมภู(หนองคร้อ) - จังหวัด ปราจีนบุรี


วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บุญ คือ

บุญ คือ พลังงานอย่างหนึ่ง ซึ่งละเอียด ประณีต และทรงพลังอย่างยิ่ง เป็นเครื่องชำระล้างใจให้ใสสะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใสห่างไกลจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย น่าเสียดายที่คนทั่วไปมองไม่เห็นบุญ จนบางคนไม่เชื่อว่าบุญมีจริง แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมขั้นสูงแล้วสามารถเห็นบุญและบาปได้ ดังที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า บุญ บาป มีจริงๆ อยู่ในตัวของเรานี่เอง ดังนี้
“..บุญ เป็นดวงใสๆ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ..บาป เป็นดวงดำ
ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เช่นกัน..”


ถ้ายังไม่เลิกสกปรกก็ยังต้องฆ่าสัตว์กันต่อไป



กุฏิสกปรกมากเท่าไร ก็คือมีอาหารของสัตว์เล็กสัตว์น้อยมากเท่านั้น มดจะชุม แมลงหวี่แมลงวันจะชุม แมลงสาบจะชุม หนูจะตามมา จิ้งจกก็จะมา ถ้ากุฏิไหนสกปรก พระกุฏินั้นสกปรก วันหนึ่ง ๆ คงเหยียบมดในกุฏิตายไปหลายตัว แล้วถ้าบ้านโยมสกปรกจะเป็นอย่างไร โยมก็ต้องหาทางแก้ ยิ่งได้ยาฆ่าแมลงกะโหลกไขว้ยิ่งดีเลย เพราะฉะนั้นครัวชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างเตรียมยาฆ่าแมลงกะโหลกไขว้ไว้ฆ่ามด ฆ่าแมลงหวี่เรียบร้อยแล้ว นั่นคือกับข้าวที่ได้มาฉันอาจมียาฆ่าแมลงปนเปื้อนอยู่ทุกมื้อ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ฝึกให้โยมรักษาศีล ท่านก็จะฉันอาหารที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงไปทุกวัน ๆ นี้คือของจริงครับ แต่ถ้าจะให้โยมรักษาศีลข้อ ๑ ได้ ก็ต้องฝึกให้โยมทำความสะอาดให้เป็น เลิกสกปรกให้ได้ก่อน ถ้ายังไม่เลิกสกปรกก็ยังต้องฆ่าสัตว์กันต่อไป นี่เป็นสาเหตุที่ทำไมรักษาศีลข้อ ๑ ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใจอยากฆ่า

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ก้านไม้ขีด..ก็เหมือนกันเวลาชีวิตของเรา



ก้านไม้ขีด..ก็เหมือนกันเวลาชีวิตของเรา

เวลาชีวิตของเรา..หากมองจริงๆ ก็แสนจะสั้นเหลือเกิน เมื่อเรามีบางสิ่งบางอย่างทำ

บางคน..อาจมองว่าชีวิตของเรา ทำไมมันช่างแสนจะยาวนานนัก

เพราะนั่น..คือการที่เรายังไม่ได้จุดไม้ขีดไฟ

เมื่อเกิดการเสียดสีกับกล่องไม้ขีด ไฟก็จะลุกโชน

ในช่วงเวลาที่เราเริ่มจุดไม้ขีดนั้น

ไม้ขีดบางอัน ก็อาจจะลุกติดในทันที แต่บางอัน ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะติด

ไฟ..ก็เปรียบเสมือนงาน หรือจุดมุ่งหมายของเรา

บางคน...กว่าจะค้นหาเป้าหมายของตัวเองเจอ ก็ช่างนานแสนนาน

และเมื่อจะเริ่มทำเป้าหมายที่วางไว้ให้สำเร็จ..หัวไม้ขีดก็เก่าเสียแล้ว

https://www.gotoknow.org/posts/248495

ความเพียร ความพยายาม





วิริยะ (บาลี: วิริย; สันสกฤต: วีรฺย) แปลว่า ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ ภาวะของผู้กล้า เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์ หมายถึง การลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบที่ตนรัก ทำด้วยความพากเพียรพยายาม ทำด้วยความสนุก กล้าหาญ กล้าเผชิญกับความทุกข์ยาก ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น หากมีอุปสรรคข้อขัดข้องใดๆ ก็เพียรกำจัดปัดเป่าไปให้หมดสิ้นไป โดยไม่ย่อท้อ ไม่สิ้นหวัง เดินหน้าเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือ ความสำเร็จ

"วิริยะ" เป็นเหตุให้กล้าลงมือทำงานและกล้าเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆ ขณะทำงาน ตรงกันข้าม หากขาดความเพียรพยายามเสียแล้วก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า"คนจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร"

วิริยารัมภะ หมายถึง การปรารภความเพียร คือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว

การออกกำลังกายของพระสงฆ์




การออกกำลังกายของพระสงฆ์

พระสงฆ์เป็นบุคคลที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้ เนื่องจากเป็นบุคคลที่ต้องดำรงอยู่ในกฎระเบียบที่เรียกว่า พระธรรมวินัย การกระทำใดแม้กระทั่งไม่ปรากฏในธรรมวินัย แต่เข้าข่ายเป็นโลกวัชชะ คือ โลกตำหนิติเตียนก็ทำไม่ได้ ไม่เหมาะสมกับสมณะสารรูป ก็ทำไม่ได้ ดังนั้นจึงทำให้พระสงฆ์ โดยเฉพาะพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทนั้นติดขัดด้วยกฎนอกจากที่เป็นกฎในพระธรรมวินัยแล้ว และยังมีกฎทางวัฒนธรรม ประเพณีด้วย
สำหรับพระสงฆ์ฝ่ายมหายานแล้ว การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงนั้นเป็นกฎอย่างหนึ่งของพระสงฆ์ต้องปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติธรรมด้วย
กฎที่ว่าด้วยการปฏิบัติที่เรียกว่า ไม่เหมาะสมสำหรับพระสงฆ์ในการปฏิบัติตนนั้นอยู่ในหมวดสารูปแห่งเสขิยวัตร แต่โดยสรุปแล้วในหมวดนี้ ๒๖ ข้อนั้น จะเป็นมารยาทสำหรับพระสงฆ์ที่จะเข้าไปในบ้านของโยมและนั่งในบ้านของโยมทั้งสิ้น ไม่มีที่ระบุถึงการอยู่ในภายในกุฏิหรือภายในวัด ยกตัวอย่างเช่น ข้อ ๑๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่ไกวแขน ไปนั่งในบ้าน เป็นต้น จุดประสงค์ก็เพื่อไม่ให้ภาพของบุคคลที่ควรแก่การเคารพและของทักขิณา เป็นที่ตำหนิของผู้พบเห็นในที่สาธารณะ นอกจากนั้นในการพิจารณาปัจจัย ๔ ในข้อของอาหารบิณฑบาต นั้นกำหนดไว้ชัดว่า การบริโภคนี้ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อสดใส ไม่ใช่เพื่อความเปล่งปลั่ง จากข้อความนี้จึงเป็นเหมือนข้อห้ามของพระสงฆ์ที่ไม่สามารถจะกระทำการใดเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงที่ไม่เหมาะสม

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ผู้ปรารถนาพ้นจากเพศคฤหัสถ์ เตรียมเข้าสู่ความเป็นสมณะ







อุกาสะ ดังกระผมทั้งหลาย ได้ตั้งใจเข้ามาฝึกอบรม


เตรียมบรรพชา อุปสมบท เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง 


และสืบอายุพระพุทธศาสนา ในโอกาสนี้ กระผมทั้งหลาย 


ขอตัดปอยผม และปลงผม เพื่อแสดงตนว่า 


เป็นผู้ปรารถนาพ้นจากเพศคฤหัสถ์ เตรียมเข้าสู่ความเป็นสมณะ 


เดินตามรอยบาทพระศาสดา และพระอริยสาวกทั้งหลาย 


กราบขอความเมตตา จากพระอาจารย์และคณะสงฆ์ 


ได้โปรดตัดปอยผม และปลงผม เพื่อเป็นสิริมงคล 


ตัดความกังวลห่วงใย ขอให้ชีวิตใหม่ในเส้นทางธรรม ของกระผมทั้งหลาย 


ได้สำเร็จตามความปรารถนา บรรลุมรรคผลนิพพาน ในกาลบัดนี้เทอญ

พฤติกรรมที่เรียกว่า “ คบ “ คืออย่างไร ?





พฤติกรรมที่เรียกว่า “ คบ “ คืออย่างไร ?

คบ หมายถึงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

- ร่วม เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมก่อการ ร่วมหุ้น ร่วมลงทุน

- รับ เช่น รับเป็นเพื่อน รับเป็นภรรยาหรือสามี รับไว้ทำงาน รับฟังสิ่งที่คน

พานพูดหรือเขียน

- ให้ เช่น ให้ความไว้วางใจ ให้คำชมเชย ให้ยศ ให้ตำแหน่ง ให้หยิบยืม

สิ่งของ ให้การสนับสนุน

การไม่คบคนพาล คือการไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใดๆ ดังกล่าว ข้างต้นกับคนพาล ถ้าเรายังคบคนพาลอยู่ ไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม รีบถอนตัวเสียโดยด่วน อย่าประมาท รีบตัดไฟเสียแต่ต้นลม มิฉะนั้นจะพลาด ติดเชื้อพาลโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นพาลตามไปด้วย

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จุดโคมประทีป


ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ จังหวัดปราจีนบุรี



              ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ก็มีหลักฐานกล่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้ใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวร แต่ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อกันไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งภิกษุบางรูปได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยบ่อยครั้ง เนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล

               ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธจึงได้มีพระพุทธดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ ดังปรากฏข้อความในพระวินัยปิฎก ว่า

"อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดิน ขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่ง คันนากับคันนา ผ่านตัดกันไปหรือไม่? ...เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?"

พระอานนท์ตอบว่า "สามารถ พระพุทธเจ้าข้า."

กระทบกระทั่ง


เราจะอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง..จะประคองกันไปให้ถึงฝัน..



วิธีฝึกทำอย่างไร ก็ต้องกลับไปฝึกอย่างที่พูดไว้เมื่อครู่ คือ ต้องฝึกรับแขกเอาไว้ให้ชำนาญ หัดช่วยเหลือคนอื่นให้เคย โดนเขากระเง้ากระงอดกระทบกระทั่งบ้างก็ต้องอดทน และที่สำคัญที่สุด จำไว้ คนที่จะอดทนต่อการกระทบกระทั่งได้จะต้องเป็นคนไม่ถือตัว ถ้าถือตัวเดี๋ยวเถอะ เรื่องกระทบเยอะ



วิธีฝึกตัวไม่ให้เป็นคนไม่ถือตัวนั้น วิธีง่ายๆ มีอยู่อย่างหนึ่ง ขัดส้วมบ่อยๆ หักใจทำไปเถอะไม่ช้าความถือตัวจะหมดไป มาช่วยวัดหลวงพ่อถูศาลาถูพื้นบ่อยๆ ความถือตัวมันจะหมดไปเอง แล้วจากนั้นใครจะมากระเง้ากระงอด มาค่อนมาขอดอะไรก็ไม่กระเทือนแล้ว



ใครรู้ตัวว่าไม่ค่อยจะอดทนต่อการกระทบกระทั่ง หลวงพ่อมีบทฝึกขลังอยู่บทหนึ่ง หลวงพ่อใช้กับตัวเองได้ผลมาแล้ว ได้บุญเยอะด้วย ใครจะลองเอาไปใช้บ้างก็ได้นะ

มงคล ที่ ๒๗ มีความอดทน





ความอดทน คือ อะไร ?


ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึงการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของสกปรก หรือของหอม ของดีงามก็ตาม


งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้ นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมข้อหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมข้อนั้นคือ ขันติ


ถ้าขาดขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใดสำเร็จได้เลย เพราะขันติเป็นคุณธรรมสำหรับทั้งต่อต้านความท้อถอยหดหู่ ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้เกิดความขยัน และทำให้เห็นอุปสรรคต่างๆ เป็นเครื่องท้าทายความสามารถ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของงานทุกชิ้นทั้งทางโลกและทางธรรม คืออนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ฝึก




ทำเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ

ตัวอย่างประโยค

เด็กนักเรียนจะต้องฝึกปฏิบัติธรรม สวดมนต์ นั่งทำสมาธิเพื่อความสงบของจิตใจ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ






ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ www.rgf.or.th


โครงการบวชพระทุกเดือน ณ ศุนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ


www.rgf.or.th. http://www.rgf.or.th/. มูลนิธิรัตนคีรี Ratanagiri Foundation อักษรย่อ R.G.F.






ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ


142 หมู่ 7 บ้านบุเสี้ยว ตำบลบ้านนา อำเภอกบินทร์บุรี


จังหวัดปราจีนบุรี 25110


E-mail: khaokaew072@gmail.com


Website: http://www.rgf.or.th


1. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรม ความดีสากล (Universal Goodness)โทรศัพท์. 081-657-0837 , 081-623-6883 , 089-456-2573 , 086-779-2419


2. โครงการบวชสร้างบุญ ทดแทนคุณพ่อแม่ (บวชพระได้ทุกเดือน) โทรศัพท์.08-8006-2072 , 08-1905-3774 ร่วมเป็นเจ้าภาพงานบวชได้ที่


กองบุญศาสนาทายาท โทรศัพท์.08-5131-7777 , 08-9776-6436 / facebook : โครงการวชพระทุกเดือน


3. งานบุญผ้าป่าวันเสาร์ และร่วมงานบุญต่างๆ จัดงานทุกวันเสาร์ในแต่ละสัปดาห์ ณ หอฉันอัปปมาทเศรษฐี ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ


โทรศัพท์. 08-5131-7777 , 08-9776-6436


4. โรงเรียนเตรียมพุทธศาสตร์ ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ ธุรการโรงเรียนเตรียมพุทธศาสตร์


ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ เลขที่ 142 หมู่ 7 ตำบลบ้านนา อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25110 โทรศัพท์. 08-7748-9336 , 08-9465-4718

ผู้ที่ตักบาตรก็ต้องถอดรองเท้าด้วย


ผู้ที่ตักบาตรก็ต้องถอดรองเท้าด้วย เพื่อให้ความเคารพในพระภิกษุ ซึ่งมีศีลถึง 227 ข้อ พระภิกษุถอดรองเท้าบิณฑบาต เพราะเคารพในทานของผู้ตักบาตร ส่วนผู้ตักบาตรเองก็ถอดรองเท้า ในฐานะให้ความเคารพกับพระภิกษุ ซึ่งมีศีล 227 ข้อ ธรรมเนียมขาวพุทธไทยการถอดรองเท้าเป็นการแสดงความเคารพ

พระออกบิณฑบาต



 โดยพระวินัยแล้วต้องถอดรองเท้า เป็นการให้ความเคารพในทานของผู้ให้

กิจของสงฆ์ ที่กำหนดในพระธรรมวินัย เรียกว่านิสัย



เพราะเป็นกิจของสงฆ์ ที่กำหนดในพระธรรมวินัย เรียกว่านิสัย

นิสัย คือ เครื่องอาศัยของบรรพชิต หรือ สิ่งที่บรรพชิตพึงปฏิบัติ เพื่อการยังชีพ ประกอบด้วย

1. เที่ยวบิณฑบาต คือ ให้ภิกษุเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต
โดยอาศัยชาวบ้านเป็นอยู่ โดยปัจจัยที่ได้จากการบิณฑบาตนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่บริสุทธิ์

2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล คือ การนุ่งห่มผ้าที่หาเจ้าของมิได้ เช่นผ้าตามกองขยะที่ชาวบ้านทิ้ง หรือ ผ้าห่อศพ ภิกษุในสมัยพุทธ
กาลจะเก็บมาย้อมเย็บเป็น จีวร สบง ไว้นุ่งห่ม

3. อยู่โคนไม้ เนื่องจาก ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่บวชเป็นบรรพชิต
เมื่อทิ้งบ้านเรือนมาออกบวชก็มักจะอาศัยอยู่ในป่า แม้แต่พระพุทธองค์ก็มิได้ยกเว้น
ต่อมาภายหลังจึงมีผู้ศรัทธาสร้างกุฏิถวาย

4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือ การฉันยารักษาโรคด้วยยาดองน้ำมูตร(ปัสสาวะ)เน่า


เมื่อมีกิจอื่นก็ยกเว้นไม่ต้อบิณฑบาตก็ได้

ที่มา http://www.dhammadelivery.com/