วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

การกรวดน้ำนั้นเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่หมู่ญาติ

การกรวดน้ำนั้นเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่หมู่ญาติ เป็นอุบายวิธีทำให้ใจสงบ เยือกเย็นและกว้างขวาง พร้อมที่จะอุทิศผลบุญให้ผู้อื่นอย่างเต็มที่ คนที่ฝึกสมาธิ(Meditation)มาดีแล้ว สามารถเข้าสมาธิแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลได้เลย ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเป็นสื่อ เพราะฉะนั้นถ้าหาน้ำไม่ทันหรือโอกาสไม่อำนวย ทำบุญแล้วก็ควรนึกอุทิศส่วนกุศลทันที ในขณะที่ใจยังปีติอิ่มอยู่ในบุญ


วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

บิณฑบาต ไปทำไม ?

บิณฑบาต (อ่านว่า บิน-ทะ-บาด) เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ปิณฺฑ + ปาต แปลว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว โดยทั่วไปคำนี้หมายถึงกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตรรับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่าการออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่าเป็นกิจอันประเสริฐ หรือในสามัญเรียกว่าการโปรดสัตว์ เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

แม้บวชช่วงสั้น แต่บุญตามส่งผลยาวนาน

ผลบุญจากการบวชพระ แม้จะบวชไม่นาน ขอเพียงตั้งใจประพติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บุญนั้น ก็สามารถยอยกผู้บวชให้บังเกิดในสุคติภูมิตลอดไป หากไปเกิดใน สวรรค์ก็จะเป็นเทพผู้มีอานุภาพมาก จนท้าวสักกะต้องเสด็จไปชื่นชมบารมีกันเลยทีเดียว


วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

ไตรจีวร หรือ ผ้าไตร

ไตรจีวร หรือ ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงฆ์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (สบงสำหรับนุ่ง) แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร โดยไตรจีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน ๘ อย่าง


การเวียนประทักษิณ

การทำประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวาคือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ

ความเป็นมา ของการเดินทำประทักษิณ คือ การเดินเวียนขวา องค์พระปฏิมาหรือ สัญลักษณ์ที่จะให้ระลึกถึง พระพุทธองค์นั้นมีว่า ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ มีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศล มีความเคารพศรัทธา ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก เวลาที่พระองค์เสด็จไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น นอกจากรพะองค์จะกราบพระพุทธเจ้าด้วยความนอบน้อมสามครั้งแล้ว ยังขอจุมพิตพระบาทและขอเดินเวียนขวารอบๆองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงสามรอบด้วย

ประวัติพระเจ้าปเสนทิโกศลที่เดินเวียนขวารอบๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามรอบอยู่เสมอ เพื่อแสดงถึงความเคารพเป็นพิเศษนี่เอง เป็นที่มาของการเดินเวียนขวา รอบองค์พระปฏิมา หรือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ให้น้อมนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พุทธศาสนิกชนนิยมปฏิบัติสืบมาถึงยุคปัจจุบันนี้



ความเหมือน ที่แตกต่าง เมื่อ ครองผ้า กาสาววตฺถํ ผ้ากาสาวพัสตร์



ผ้ากาสาวะ หรือ “กาสาวพัสตร์” 
ในพระไตรปิฎกท่านเรียกว่า “อรหทฺธช” แปลกันว่า “ธงชัยของพระอรหันต์” (the flag or banner of an Arahant) มีนัยว่า ผู้ครองผ้ากาวะ หรือ “แต่งเครื่องแบบชนิดนี้” ก็คือผู้ประกาศตน หรือ “ชูธง” ที่จะมุ่งดำเนินไปสู่ความเป็นพระอรหันต์นั่นเอง

มีวินัย : เครื่องแบบของทหารก็ไม่เศร้า
มีศีล : เครื่องแบบของพระพุทธเจ้าก็ไม่ทราม



วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

ห้องอาหารกับการเปลี่ยนนิสัย

ห้องอาหาร
ฝึกให้ทานอาหารพร้อมกัน ห้ามเดินในเวลาทานข้าว เปรียบเสมือนไม่เคารพคนอื่นที่กำลังนั่งทานข้าวอยู่ ตักอาหารตักได้ แต่ต้องทานให้หมดจาน ใครทานไม่หมดคุณพ่อไม่ให้ลุกจากโต๊ะ “มีไข่พะโล้ 2 ฟอง ทานกัน 4 คน ทานกันคนละครึ่งฟอง โดยตักให้ผู้ใหญ่ก่อน” มาเปรียบกับชีวิตการทำงาน ตัวอย่างเวลาเข้าลิฟท์จะเข้าคนสุดท้าย จะออกก็จะออกเป็นคนสุดท้าย ทำให้เป็นคนมี “มารยาท และเสียสละ”















วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

ท่ามกลางความร้อน แสดงแดด .........และ ความอดทนคืออะไร ?



คนเราแม้กำลังทรัพย์ กำลังความรู้ ความสามารถจะยังน้อย. แต่ถ้ามีความอดทนแล้ว ย่อมสามารถฝึกฝนตนเอง. ให้ประสพความสุขความสำเร็จในชีวิตได้ฉันนั้น